ตู้ควบคุมสายพานลำเลียง คือ ตู้ควบคุมมอเตอร์ ซึ่งมอเตอร์ไปขับมูเล่ย์ที่ขับสายพานลำเลียง ดังนั้น การควบคุมสายพานจึงมีการใช้ Sensor ที่ควบคุมแนวสายพาน (Alignment) ใช้ตัวควบคุมปริมาณวัสดุ Load ในสายพานไม่ให้มากเกินไป (Overload) เป็นต้น และนำสัญญาณกลับมาควบคุมการทำงานของมอเตอร์ โดยต่อผ่านตู้ควบคุมสายพานลำเลียง

ตู้ควบคุมระบบสายพานลำเลียงเป็นส่วนสำคัญ และถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ในการผลิตสินค้าทั้งภาคอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงภาคการเกษตรด้วยก็เช่นกัน เนื่องจากช่วยลดต้นทุนและอำนวยความสะดวกในขั้นตอนการผลิตสินค้าให้กับผู้ประกอบการได้มาก การออกแบบและผลิตตู้ควบคุมระบบลำเลียงสายพานนั้นผู้ผลิตต้องเข้าใจหลักการทำงานและกระบวนการทำงานภายในของลูกค้าด้วย ซึ่งทางบริษัท พี.อี. อิเลคทริค จำกัด ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาโดยตลอด
ส่วนหนึ่งของผลงาน ออกแบบ ประกอบ ติดตั้ง ตู้ควบคุมระบบสายพายลำเลียง โดย บริษัท พี.อี. อิเลคทริค จำกัด ดูเพิ่มเติม..>>คลิก<<



ส่วนประกอบที่สำคัญของตู้ควบคุมสายพานลำเลียง
ตู้ (Enclosure) สภาพแวดล้อมในการติดตั้งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมีผลในเรื่องของการเลือกมาตรฐานตู้ IP-Ingress Protection Ratings (การกันฝุ่น กันฝน) ดังนั้นผู้ใช้งานต้องคำนึงถึงสถานที่เป็นอันดับแรก
อินเวอร์เตอร์ปรับความเร็วรอบ ( Variable Speed Drive ) คือ อุปกรณ์ที่ใช้ปรับรอบการทำงานของมอเตอร์ให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ใช้งาน ซึ่งการปรับรอบมอเตอร์ให้เหมาะสมจะช่วยให้ระบบการทำงานถูกต้องและสามารถช่วยในเรื่องของการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับมอเตอร์ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งทางเรามี อินเวอร์เตอร์ปรับความเร็วรอบ หลากหลายสำหรับมอเตอร์หลายขนาด เพื่อความเหมาะสมในงานนั้นๆ
เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) สำหรับสวิทช์บอร์ดแรงต่ำ เบรกเกอร์ที่ใช้ทั่วไป มี 2 แบบ คือ Air Circuit Breaker และ Mold Case Circuit Breaker โดย Air CB. ใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในวงจรที่ใช้กระแสสูง ส่วน Mold Case CB (MCCB) ใช้กับวงจรย่อย หรือใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในตู้สวิทช์บอร์ดขนาดเล็ก ทั้งนี้ การเลือกเบรกเกอร์ควรพิจารณาขนาดความกว้าง ยาว สูง เพื่อให้ติดตั้งในตู้ได้อย่างเหมาะสมสวยงาม ค่ากระแส IC รวมถึงการจัด Co-ordination ด้วย
แมกเนติกคอนแทคเตอร์( Magnetic Contactor) คือ อุปกรณ์สวิทช์ตัดต่อวงจรไฟฟ้า เพื่อการเปิด-ปิด ของหน้าสัมผัส (Contact) ทำงานโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยในการเปิด-ปิดหน้าสัมผัส ในการตัดต่อวงจรไฟฟ้า เช่น เปิด-ปิด การทำงานของวงจรควบคุมมอเตอร์ นิยมใช้ในวงจรของระบบแอร์ , ระบบควบคุมมอเตอร์ หรือใช้ในการควบคุมเครื่องจักรต่างๆ โดยแมกเนติกคอนแทคเตอร์นั้น จะมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญต่อการทำงาน ได้แก่ แกนเหล็ก (Core) ,ขดลวด (Coil) ,หน้าสัมผัส (Contact) และสปริง (Spring)
Terminal (เทอร์มินอล) คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับต่อสาย หรือจุดต่อสายไฟนั่นเอง ซึ่งมีด้วยกันหลายชนิด การใช้งานของเทอร์มินอลนั้น ขึ้นอยู่กับหลายๆองค์ประกอบ อาทิเช่น ลักษณะหน้างาน พื้นที่ที่มีจำกัด กระแสไฟ
โอเวอร์โหลดรีเลย์(Over Load Relay)
โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Over Load Relay) เป็นอุปกรณ์ป้องกันมอเตอร์ทำงานเกินกำลัง หรือป้องกันมอเตอร์ ไม่ให้เกิดการเสียหาย เมื่อมีกระแสไหลเกินพิกัดในมอเตอร์
โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Over Load Relay) เป็นอุปกรณ์ป้องกันมอเตอร์ทำงานเกินกำลัง หรือป้องกันมอเตอร์ ไม่ให้เกิดการเสียหาย เมื่อมีกระแสไหลเกินพิกัดในมอเตอร์
หลอดไฟแสดงLED หลอดไฟแสดงสถานะหน้าตู้ควบคุม (Status or Pilot Lamp) ซึ่งตู้ควบคุมนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมี สถานะบอกให้ผู้ใช้งานระบบทราบการทำงานของระบบ ดังนั้นอุปกรณ์ที่บอกสถานะ คือ PILOT LAMPS โดยที่สถานะที่ใช้ในทั่วๆไป เช่น แสดงการทำงาน , การหยุดทำงาน ,การเกิด Alarm ,การเกิด Over load , การเปิด หรือ ปิด ระบบ, ไฟแสดงเฟสระบบไฟฟ้า,และอื่นๆ
สั่งทำตู้ควบคุมติดต่อ ฝ่ายขาย : 086 420 3860 | 053 126 516 FAX: 053 126 517 ปรึกษาเรื่องตู้ควบคุมสายพานลำเลียง : 063 114 4463
เลือกซื้อตู้ควบคุมที่ไหนดี หาคำตอบได้ค่อนข้างยาก เพราะมาตรฐานการผลิตมักจะเป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ถ้าจะสั่งซื้อ สั่งทำตู้ควบคุมที่มีคุณภาพและเหมาะกับสภาพการใช้งานแล้วละก็ ที่ บริษัท พี.อี. อิเลคทริค จำกัด เราหาคำตอบให้คุณได้ เรามีวิธีการออบแบบตู้ควบคุมที่ได้มาตรฐาน วิเคราะห์และออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานของลูกค้า เพื่อให้ได้ตู้ควบคุมที่ได้มาตรฐาน ทนทานต่อการใช้งาน มีประสิทธิภาพ และปลอดภัยต่อผู้ใช้งานเป็นหลัก ที่สำคัญสินค้าผ่านการทดสอบก่อนส่งมอบทุกครั้ง ท่านจึงมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับ เรามีวิศวกรพร้อมให้คำปรึกษาทั้งก่อนและหลังการขายโทรมาหาเราได้ 063 114 4463 คิดถึงตู้ควบคุม คิดถึงเรา บริษัท พี.อี. อิเลคทริค จำกัด "ใส่ใจลูกค้า ตรงเวลา รักษามาตรฐาน"